การสร้าง Branding ที่ดี ไม่ใช่เรื่องยาก

"การสร้าง Branding ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจและธุรกิจดิจิทัลของคุณเป็นที่รู้จักและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การสร้างแบรนด์จะทำให้เกิดข้อแตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้คนจำได้อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายอีกด้วย คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจดิจิทัลจึงจะมาแบ่งปันเรื่องนี้กันค่ะ"

การสร้าง Branding ที่ดี ไม่ใช่เรื่องยาก

    การลงทุนทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ การสร้าง Branding ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เพราะคู่แข่งในตลาดนั้นมีอยู่มากมาย การสร้างแบรนด์จะทำให้เกิดข้อแตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้คนจำได้อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายอีกด้วย วันนี้คณะบริหารธุรกิจสาขาธุรกิจดิจิทัล จึงจะมาแนะนำวิธีในการสร้าง Branding ที่ดีที่ทำให้ลูกค้าจดจำเราได้

Branding คืออะไร?

    หลายคนมักจะเข้าใจว่าการสร้างแบรนด์เป็นการทำแค่ตั้งชื่อหรือทำโลโก้ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในขั้นเริ่มต้นของการสร้าง Brand Identity คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ แต่แท้จริงแล้ว Branding คือ ภาพลักษณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริษัท ดังนั้นการสร้าง Branding นั้นจึงหมายถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ทำให้ลูกค้าสามารถจดจำธุรกิจและธุรกิจดิจิทัลของคุณได้ โดยมีองค์ประกอบต่างๆ เพื่อสร้างภาพจำแก่ลูกค้า เช่น ชื่อแบรนด์ โลโก้ สโลแกน หรือใช้กลยุทธ์การเล่าเรื่องเพื่อสื่อว่าธุรกิจนั้นขายอะไร เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ เรียกได้ว่าการสร้าง Branding ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ว่าจะธุรกิจเล็กหรือใหญ่ควรจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

การสร้างแบรนด์ที่ดี ควรทำอย่างไร?

ธุรกิจดิจิทัล

1.ศึกษาคู่แข่งของแบรนด์

    ก่อนที่จะวางแผนเรื่องทิศทางการนำเสนอแบรนด์ อย่าลืมศึกษาทิศทางของคู่แข่งที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกันก่อน เพื่อที่คุณจะทราบว่า สิ่งใดควรทำให้คล้ายหรือสิ่งใดควรทำให้แตกต่าง รวมถึงเก็บข้อมูลเรื่องจุดแข็งและจุดอ่อนของแบรนด์คู่แข่ง เพื่อนำมาคิดกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ของคุณเองให้โดดเด่น

2.เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

    ลองสำรวจดูว่ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจและธุรกิจดิจิทัลของคุณคือใคร โดยอาจวิเคราะห์จากกลุ่มลูกค้าของธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกัน จากนั้นลองทำตารางขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบข้อมูล แล้ววิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร อายุเท่าไหร่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ไหน และมีวิถีชีวิตอย่างไร เพื่อวิเคราะห์ต่อไปว่าควรวางกลยุทธ์ในการสื่อสารอย่างไร และสื่อสารผ่านช่องทางไหนดี

3.ออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์

    ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ขั้นต่อไป คือ การออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ โดยเชื่อมโยงจุดเด่นของสินค้าและบริการเข้ากับพันธกิจและสิ่งที่แบรนด์อยากจะนำเสนอ เคล็ดลับคือ ให้เปรียบแบรนด์ของคุณเป็นคนหนึ่งคน หากสร้างคนขึ้นมาใหม่ได้หนึ่งคน คุณอยากให้เขามีบุคลิกภาพแบบไหน สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน หรือผาดโผนชอบการผจญภัยและที่สำคัญ คุณอยากให้คนกลุ่มไหนรู้สึกชอบเขาและทำอย่างไรคนกลุ่มนั้นถึงจะเปิดใจให้กับเขาได้ในที่สุด

4.สร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์

    หลังจากกำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำภาพนั้นให้ชัดเจนขึ้นด้วยการนำเสนอ “อัตลักษณ์ของแบรนด์” ผ่านการออกแบบโลโก้ สี และรูปแบบตัวอักษร เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ของคุณ และเรียนรู้ว่าคุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร นอกจากนี้ อัตลักษณ์ของแบรนด์ยังสามารถถ่ายทอดผ่านสิ่งอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสียงของบอตหรือแอดมินเวลาโต้ตอบกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ คอนเทนต์ที่นำเสนอบนช่องทางต่าง ๆ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ เป็นต้น

5.การสื่อสารกับผู้บริโภคโดยใช้

    เมื่อเตรียมการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเริ่มสื่อสารกับผู้บริโภค โดยวิเคราะห์จากเพศ วัย และพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนตัดสินใจว่าจะสื่อสารกับพวกเขาผ่านทางช่องทางไหนได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม คุณอาจทดลองสร้างแคมเปญหลายแคมเปญขึ้นมา เพื่อทดลองใช้สื่อที่แตกต่างกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและรอดูตัวเลขทางสถิติว่ากลุ่มเป้าหมายใดเหมาะกับการโปรโมทผ่านช่องทางใด

6.ยืนหยัดในจุดยืนของแบรนด์

    อีกหนึ่งขั้นตอนการสร้างแบรนด์ที่สำคัญ คือ การยืนหยัดในจุดยืนของแบรนด์ เพราะเมื่อลงสู่สนามการตลาดไปสักพัก คุณจะพบกระแสนิยมมากมาย ที่ชักนำให้แต่ละแบรนด์หันเหไปนำเสนอในสิ่งเดียวกัน เช่น การทำคอนเทนต์แบบ Realtime Marketing ที่ได้รับความนิยมมากใน Social Media ซึ่งในบางช่วงเวลา คุณเองก็อาจใช้ประโยชน์ในธุรกิจดิจิทัลจากคอนเทนต์ประเภทนี้ได้ แต่ต้องไม่ลืมเรื่องจุดยืนของแบรนด์ 

7.ตรวจสอบและวัดผลคุณภาพตลอดเวลา

    ขั้นตอนสุดท้าย คือ การหมั่นติดตามวัดผลตลอดเวลา เพื่อหาทางปรับปรุงและพัฒนาแนวทางให้สอดรับกับสถานการณ์อยู่เสมอ อาจใช้เครื่องมือวัดผลต่างๆ หรือจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะตรวจสอบด้วยวิธีใด ขอเพียงมุ่งเน้นความสม่ำเสมอ และการพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เป็นสำคัญ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

https://thedigitaltips.com/blog/marketing/what-is-branding/

https://www.thestreetratchada.com/Blogs/212/10-tips-for-branding

https://www.cotactic.com/blog/how-to-build-a-brand/


เรียนธุรกิจดิจิทัล

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสาขา ธุรกิจดิจิทัล

สนใจติดต่อสอบถาม คลิกที่ด้านล่างได้เลย !!

Address

อาคาร2 คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต
เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

Contacts

Email : nuttayos.s@rsu.ac.th
Mobile : 0991578755

Free AI Website Maker