Disruptive Business Model
การออกแบบในยุคดิจิทัล

"Disruptive Business Model คือการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจโดยการใช้ดิจิทัลเข้ามาเสริมเพื่อรับมือกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และโมเดลนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าธุรกิจได้อย่างไร วันนี้คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจดิจิทัลจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน"

เทคนิคในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

    เมื่อต้องเผชิญกับ Digital Disruption ควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจดำเนินการต่างไปจากเดิม จึงทำให้เกิดโมเดลที่เรียกว่า Disruptive Business Model คือการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจโดยการใช้ดิจิทัลเข้ามาเสริมเพื่อรับมือกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และโมเดลนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าธุรกิจได้อย่างไร วันนี้คณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจดิจิทัลจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

Disruptive Business Model คืออะไร

    เป็นการนำเอาไอเดียธุรกิจหรือนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาจับกับความต้องการของตลาดที่ยังไม่เคยมีใครมองเห็น หรือยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยเทคนิคของโมเดลนี้ก็คือการเข้าไปค้นหาความต้องการของลูกค้าที่ซ่อนอยู่ให้เจอ หากความต้องการนั้นสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ก็เข้าไป Disrupt ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้านั่นเอง

Disruptive Business Model แบ่งออกเป็น 7 ประเภท
ธุรกิจดิจิทัล

1.Freemium

    การที่แพลตฟอร์มเปิดให้ใช้บริการโดยมีเงื่อนไขบางประการ อย่างเช่น มีข้อจำกัดในการใช้ฟังก์ชันในแอปพลิเคชัน โดยสามารถซื้อบริการเสริมหากต้องการใช้ฟังก์ชันนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น Youtube โดยปกติแล้วผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ฟรี แต่หากต้องการข้ามโฆษณาก็สามารถจ่ายเพิ่มเพื่ออัพเกรดเป็นพรีเมียมได้เช่นกัน

2.Subscription

    ระบบสมัครสมาชิกที่มาแทนการซื้อขาย นั่นหมายความว่าหากเราต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนั้น ๆ จะต้องสมัครสมาชิกเสียก่อน ตัวอย่างเช่น Netflix บริการสตรีมมิ่งที่นำเสนอความบันเทิง หากต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้จะต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยมีการคิดค่าบริการตามแพ็คเกจ

3.Peer-To-Peer, two-sided marketplace

    แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อผู้ขายและผู้ซื้อโดยมีตัวกลางเป็นสินค้าหรือการบริการไม่ว่าจะเป็นการเช่าหรือซื้อก็ตาม ตัวอย่างเช่น Airbnb แพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่าสถานที่โดยไม่มีสถานที่เป็นของตัวเองเลยเพราะเป็นตัวกลางที่ให้ผู้ให้เช่ามาลงสถานที่และเปิดบริการให้ผู้เช่ามาเลือกจองสถานที่นั่นเอง

4.E-Commerce

    ผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขายสินค้าเสมือนกับการขายสินค้าผ่านคนกลางทั่วไปที่ย้ายมาวางไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee, Amazon นั่นเอง

5.On-demand

    เป็นการบริการที่นำระบบเข้ามาใช้เพื่อประหยัดเวลามากขึ้นและสามารถใช้บริการได้เมื่อต้องการ ตัวอย่างเช่น Grab Food ที่ให้บริการสั่งอาหารมาส่งตามสถานที่เพื่อประหยัดเวลาในการไปต่อคิวซื้อเอง

6.Ad-Supported

    เว็บไซต์ที่ให้เข้าถึงได้ฟรีไม่ว่าจะเป็น content, article โดยบริษัทเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการขายโฆษณา ตัวอย่างเช่น Google ที่สามารถใช้เสิร์ชหาข้อมูลฟรี แต่หากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่ามีโฆษณาแฝงอยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้น นั่นจึงเป็นแหล่งที่มารายได้ของ Google นั่นเอง

7.Open Source

    โมเดลนี้ทำให้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ได้ฟรี และสามารถเข้ามาแก้ไข ดัดแปลงได้ ตัวอย่างเช่น Red Hat เปิดให้บริการซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาแก้ไข หรือเผยแพร่ต่อได้ และใช้ได้ฟรี โดยมีรายได้จากค่าสมัครสมาชิก (Premium Subscription) และการฝึกอบรม

    สาขาธุรกิจดิจิทัลสรุปว่าในทางกลับกันหากทุกแพลตฟอร์มใช้โมเดลเดียวกันจะทำให้คู่แข่งในตลาดยิ่งสูงขึ้น ทั้งนี้แบรนด์จึงต้องสร้างเอกลักษณ์และมีจุดยืนที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการที่ดีกว่าเพื่อสร้าง Customer Experience หรือการสร้าง Customer Relationship ในระยะยาวนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก:

https://www.twfdigital.com/blog/2021/03/digital-business-model/

https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/digital-business-model.html?form=2

เรียนธุรกิจดิจิทัล

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสาขา ธุรกิจดิจิทัล

สนใจติดต่อสอบถาม คลิกที่ด้านล่างได้เลย !!

Address

อาคาร2 คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต
เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000

Contacts

Email : nuttayos.s@rsu.ac.th
Mobile : 0991578755

Mobirise